วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ทดสอบ 24/12/2562

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Atropine Injection

รูปแบบที่มีในโรงพยาบาล    Atropine Injection : 0.6 mg in 1 ml (1: 1,000)

ข้อบ่งใช้ ; Preanesthetic,sinus bradycardia,organophosphate or carbamate poisoning,
neuromuscular blockade

ประเด็นปัญหา
เป็นยาที่มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด หากเกิดความผิดพลาดอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอันตรายได้ โดยอาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญ ได้แก่ tachycardia
การคัดเลือก
จัดหา
(Supply)
1. ให้ทำการจัดซื้อยา 1 ขนาดความแรง คือ ขนาด 0.6 mg in 1 ml injection
2. ให้ทำการจัดซื้อจากบริษัทเดียวเสมอ (องค์การเภสัชกรรม)
3. หากมีการเปลี่ยนแปลงขนาดบรรจุ หรือความแรง ฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน
จะต้องทำหนังสือแจ้งเวียนให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ ซึ่งได้แก่ แพทย์ งานอุบัติเหตุ- ฉุกเฉิน หอผู้ป่วยใน โดยทันที
การจัดเก็บ
(Storage)
1. กำหนดให้ทำการเก็บยาในตู้เย็น อุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส
2. กำหนดให้หน่วยงานที่มีการสำรองยา ได้แก่ ห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน หอผู้ป่วยใน ห้องคลอด ตรวจสอบความพร้อมใช้ทุกเวร
3. การจัดเก็บต้องแยกเก็บในพื้นที่เฉพาะแยกจากยาอื่น ๆ และติดป้ายบอกยากลุ่มเสี่ยงอย่างชัดเจน
4. ห้องยาติดแถบสีแดงที่ ampoule ยา เพื่อแจ้งเตือนว่า High Alert Drug
การสั่งใช้ยา
(Prescribing)
1. การสั่งใช้ยาต้องระบุข้อมูล ดังนี้
ชื่อยา โดยใช้ชื่อสามัญทางยา
ขนาดการใช้ยา
ทารกและเด็ก :
- Preanesthetic : Oral, IM, IV, SC
< 5 kg: 0.02 mg/kg/dose ให้ก่อนผ่าตัด 30- 60 นาที อาจให้ต่อทุก 4 – 6 ชั่วโมงตามความจำเป็น
> 5 kg: 0.01 – 0.02 mg/kg/dose ถึงขนาดสูงสุด 0.4 mg/dose ก่อนผ่าตัด 30 – 60 นาที ขนาดต่ำสุด 0.1 mg
- Bradycardia : IV, intratracheal : 0.02 mg/kg ขนาดต่ำสุด 0.1 mg ขนาดสูงสุดต่อครั้ง 0.5 mg ในเด็ก และ 1 mg ในผู้ใหญ่ อาจให้ซ้ำได้ทุก 5 นาที จนได้ขนาดยารวมไม่เกิน 1 mg ในเด็กและ 2 mg ในผู้ใหญ่
· การให้แบบ intratracheal ต้องเจือจางยาด้วย NSS ให้ได้ปริมาตร 2 –3 ml. ก่อน
· การรักษาภาวะ bradycardia จะใช้ atropine ต่อเมื่อการให้ oxygen และ adrenalineไม่ได้ผลเท่านั้น
เด็ก :
- Bronchospasm :Inhalation : 0.03 – 0.05 mg/kg/dose วันละ 3 – 4 ครั้ง
ผู้ใหญ่ :
- Asystole : IV 1 mg ซ้ำได้ ทุก 3 – 5 นาทีตามความจำเป็น
- Bradycardia : IV 0.5 – 1 mg ทุก 5 นาที ขนาดยารวมไม่เกิน 2 mg หรือ 0.04
mg/kg
- การแก้ไขภาวะ neuromuscular blockade : IV 25 – 30 mcg/kg ให้ก่อนให้ยา
neostigmine 30 วินาที
- พิษจาก organophosphate หรือ carbamate : IV 1 – 2 mg/dose ทุก 10 – 20
นาที จนกว่าจะเกิด atropine effect ( ปากแห้ง ตาพร่า ถ่ายปัสสาวะลำบาก
หน้าแดง ) ต่อไปให้ยาทุก 1 – 4 ชั่วโมงเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ขนาดยา
รวมสูงสุด 50 mg ใน 24 ชั่วโมงแรก กรณี severe intoxication อาจให้ยารวม
ทั้งหมดสูงถึง 2 g.
- Bronchospasm : inhalation : 0.025 – 0.05 mg/kg/dose ทุก 4 – 6 ชั่วโมง
(ขนาดยาสูงสุด 5 g/dose)
ระวังการใช้ในผู้ป่วยเด็กที่มีอาการ spastic paralysis **
3. ห้ามสั่งใช้ยาทางวาจา หรือโทรศัพท์ ยกกรณี CPR
การเตรียม
(Preparation)
ห้ามผสมยาร่วมกับยา Ampicillin, Chloramphenicol, Adrenaline,Heparin,Warfarin
การบริหารยา
(Administration)
1. ให้ 1 mg ฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำช้าๆ และให้ซ้ำได้ 3-5 นาที หากยังไม่ตอบสนอง แต่ไม่เกิน 3 mg
2. กรณีหัวใจเต้นช้า อาจให้ขนาด 0.5-1 mg ซ้าได้ทุก 3-5 นาที ขนาดโดยรวมไม่เกิน 3 mg หรือ 0.04mg/kg
การติดตาม
(Monitoring)
1. ติดตามอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และ Mental status
2. ตรวจวัด vital sign ทุก 5 นาที จนกว่าจะ stable
รายงานแพทย์ทันทีเมื่อ
BP > 140/90 mmHg , HR >120 ครั้ง /นาที
3. หากให้ยาเข้าทางหลอดเลือดดำ Mornitor EKG ตลอดการให้ยา ถึง 1 ชั่วโมงหลังให้ยา
4. อาการข้างเคียงที่อาจพบได้ เช่น ปากแห้ง,ตาพร่ามัว,หัวใจเต้นช้า,ชีพจรเต้นเร็ว,รูม่านตาขยายไม่ตอบสนอง ผิวหนังร้อนวูบวาบ หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง หายใจเร็วขึ้น
6. บันทึกปริมาณสารน้ำเข้า-ออก เพื่อดูสัดส่วนความสมดุล เพราะยาอาจทำให้เกิดภาวะ
Urinary Retention ได้รายงานแพทย์เมื่อ Urine Output < 100 cc./hr
วิธีปฏิบัติเพื่อแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์จากยาOverdose
Physostigmine 1-2 mg ( 0.5 mg หรือ 0.02 mg/kg สาหรับเด็ก) ฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือ IV อย่างช้าๆ

Amphotericin B
รูปแบบยาและความแรง : Amphotericin B 50 mg/vial

ข้อบ่งใช้ : Systemic fungal infection (Cryptococcal meningitis)


ประเด็นปัญหา
1. เป็นยาที่ต้องคำนวณขนาดยาให้เหมาะสมกับน้ำหนักผู้ป่วย บ่อยครั้งที่แพทย์สั่งในขนาด 50 mg ให้กับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 50 กิโลกรัม
2. เป็นยาที่เกิด hypersensitivity ได้บ่อย โดยเฉพาะการให้ในครั้งแรก ๆ
3. เป็นยาที่ทาให้เกิดความเป็นพิษต่อไตได้มาก (Nephrotoxicity) SCr สูงขึ้นหลังให้ยาไปได้ระยะหนึ่ง
4. เป็นยาที่ระคายเคืองหลอดเลือดทาให้เกิด Phlebitis ได้
5. เป็นยาที่ทาให้เกิด ADR อื่น ๆ ได้อีก เช่น กดไขกระดูกทำให้เลือดจาง รบกวนระบบสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย ทำให้ Potassium และ Magnesium ในเลือดต่ำ

แนวทางการจัดการ
การคัดเลือก
จัดหา
(Supply)
ตัวผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์อาจนำไปสู่ความผิดพลาดถึงตัวผู้ป่วยได้
1. ต้องจัดซื้อยาที่มีฉลากชัดเจน อ่านง่าย และมีภาชนะบรรจุที่สะดวก และปลอดภัย
2. หลีกเลี่ยงการจัดซื้อยาที่มีลักษณะยา ลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางยา
3. กรณีจัดซื้อ D5W ควรเลือกซื้อยาที่มี pH 4.2 5.5 และตรวจสอบใบวิเคราะห์ยาทุกรุ่นที่ผลิตก่อนรับยาเข้าคลังเวชภัณฑ์ เพื่อหลีกเลี่ยง incompatible ของ Amphotericin B
การจัดเก็บ
(Storage)
เป็นยาที่ต้องเก็บในตู้เย็น
1. ต้องเก็บยาให้เป็นสัดส่วนและบริเวณเก็บยาที่มีความเสี่ยงสูงต้องมีป้ายเตือนให้เห็นชัดเจน
2. สำหรับยาของผู้ป่วยในให้เก็บยาของผู้ป่วยเฉพาะราย และติดเครื่องหมายในที่เก็บยาของผู้ป่วยรายนั้น
3. จัดเก็บยาในตู้เย็นช่องธรรมดาและแยกพื้นที่ต่างหากจากยาตัวอื่น
4. ไม่มีการสำรองยาที่หน่วยงานอื่นนอกจากฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน
การสั่งใช้ยา
(Prescribing)
ขนาดยาตามน้ำหนักตัว
-ต้องมีการ test dose ก่อนให้จริง
-ต้องมีการให้ pre-medication
-ต้องให้สารน้ำให้เพียงพอ
-ไม่ควรให้ยาที่เป็นพิษต่อไตเพิ่มหากไม่จำเป็น ได้แก่ Aminoglycosides, NSAIDs
-ต้องสั่งการติดตามหลังการให้ยา
1. การสั่งใช้ยาของแพทย์ ขนาดยาต้องคำนวณตามน้ำหนักผู้ป่วย 0.71mg/kg/day สำหรับ Cryptococcus meningitis และเขียนสื่อสารให้ทีมทราบว่าต้องการให้ขนาดเท่าใด(mg/kg/day)ในผู้ป่วย(kg)
2. ขนาดยาสูงสุดต่อวันไม่ควรเกิน 1.5 mg/kg/day
3. สั่งการ test dose ก่อนให้จริงในการให้ยาครั้งแรก
4. ให้ pre-medication ก่อนการให้ยา 30 นาที ได้แก่ Paracetamol 1,000mg และ/หรือ Chlorpheniramine injection 10 mg iv อาจพิจารณาให้หยุดได้หากให้ยาผ่านไป 7 วัน โดยไม่มีอาการ hypersensitivity
5. หากไม่มีข้อห้าม ควรให้ NSS ให้เพียงพอ อย่างน้อยควรได้ 500 ml ก่อนให้ Amphotericin B เพื่อลดความเป็นพิษของยา
6. ไม่ควรให้ยาที่เป็นพิษต่อไตร่วมด้วย เช่น Gentamicin, NSAIDs,Furosemide
การจัดจ่ายยา (Dispensing)
ตรวจสอบขนาดยา
การ test dose
1. อ่านคำสั่งยาให้ละเอียด ต้องทบทวนขนาดยา น้ำหนักผู้ป่วย และข้อบ่งใช้ซ้ำ หากพบปัญหาให้ประสานกับแพทย์ทันที หากประสานไม่ได้ให้เขียนขอคำปรึกษาที่ progress note
2. ร่วมกำหนดแนวทางในการ test dose
3. บันทึกการเบิกจ่ายยา
การเตรียม (Preparation)
การเตรียม test dose
การเตรียมใช้จริง
อายุยาหลังผสม
สารละลายที่ใช้ผสม
1. อ่านคำสั่งยาให้ละเอียด ทบทวนขนาดยาซ้ำอีกครั้ง หากพบปัญหา ประสานแพทย์หรือเภสัชกรทันที
2. test dose ให้ใช้ขนาด 1 mg(0.2 ml ของสารละลายที่ละลาย SWFI 10 ml)ผสมใน D5W 100 ml drip ใช้เวลา 30 นาที ติดตามผล vital sign ทุก 15 นาที
3. ขนาดยาใช้จริงละลายตัวยา 50 mg ด้วย SWI 10 mL แล้วเจือจางด้วย D5W 500 mL (ความเข้มข้นไม่ควรเกิน 0.1 mg/ml)
4. เจือจางแล้วยามีความคงตัว 24 ชั่วโมง แต่แนะนำให้ทิ้งทันที หากใช้ยาไม่หมด
5. ห้ามใช้ NSS ในการผสม เนื่องจากจะเกิดการตกตะกอน
การบริหารยา
(Administration)
-การสังเกตและติดตามภาวะhypersensitivity ขณะบริหารยา
-การให้ pre-medication
-การให้สารน้าให้เพียงพอ
-การให้ยาด้วย infusion pump
1. ก่อนเริ่มการบริหารยา ควรทำการ test dose ทุกครั้ง ยกเว้น กรณีเป็นการให้ยาต่อเนื่อง
2. ติดตามผลอย่างใกล้ชิด หากพบปัญหารีบรายงานแพทย์
3. ให้ pre-medication ก่อนการให้ยา 30 นาที ตามคำสั่งแพทย์
4. ให้ยาด้วย infusion pump ใช้เวลาการให้ยา 2-6 ชั่วโมง หากให้เร็วจะเกิด phlebitis ได้
5. ควรให้ NSS อย่างน้อย 500 ml ก่อนให้ยานี้        
6. บริหารยาโดยการหยดเข้าหลอดทางหลอดเลือดดำช้าๆ ในเวลา 2-6 ชั่วโมง (เฉลี่ย 4 ชั่วโมง) เนื่องจากถ้าหยดเร็วไป อาจทำให้เกิด hypotension, hypokalemia, arrhythmias และ shock
การติดตาม (Monitoring)
-Hypersensitivity
-การเป็นพิษต่อไต
-รบกวนสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย
-กดไขกระดูก
1.วัดสัญญาณชีพทุก 30 นาที ติดต่อกัน 2ครั้งถ้าปกติให้วัดห่างทุก 2-4 ชั่วโมง รายงานแพทย์ ถ้ามีไข้หนาวสั่น ปวดศีรษะ PR>120ครั้ง/min
2. ประเมินอาการ Hypersensitivity เช่น ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อ และข้อต่อ ไข้หนาวสั่น
3. เฝ้าระวังภาวะ Hypokalemia เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตะคริว ง่วงซึม
4. ติดตามHct ทุก 6 วัน เพื่อดูภาวะซีด
5. ติดตามผล Lab : BUN ,Cr, Mg ,Serum K ทุก 3 วันระหว่างให้ยา
รายงานแพทย์ทันทีเมื่อ
BUN >40 mg/dL
Cr >2.0 mg/dL
K<3.0 mEq/L
Hct drop จากเดิม > 3%
Urine output ถ้าไม่ void ภายใน 6 ชั่วโมง หรือกรณี on Foley catheter
 ถ้า I/O < 30 mL/hr
6.เฝ้าระวังการเกิดการอักเสบของหลอดเลือดดำโดยตรวจสอบบริเวณตำแหน่งที่ให้ Fluid ไม่ให้มีการรั่วซึมของยา

วิธีปฏิบัติเพื่อแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์จากยา
ความเป็นพิษต่อไต
1. ถ้า Cr ที่สูงขึ้นยังไม่เกิน 2 mg/dl ยังไม่ต้องหยุดยา แต่ต้องหาสาเหตุอื่นที่อาจทาให้ Cr ขึ้นได้และให้ fluid ให้เพียงพอ
2. SCr > 2.5 mg/dl ควรหยุดยาชั่วคราว และให้สารน้ำให้เพียงพอจนกว่า SCr < 2.0 แล้วค่อยเริ่มยาใหม่ โดยเริ่มให้ 0.5 mg/kg/day ก่อน และอีก 3 วัน ประเมิน SCr ถ้าไม่มีปัญหาก็เพิ่ม dose ได้
Phlebitis
1. สามารถเกิดได้หากมีการให้ยาที่เข้มข้นเกิน 0.1 mg/ml หรืออัตราเร็วมากเกินไป
2. หากพบว่าเกิดต้องลดอัตราเร็วในการบริหารยา
Hypersensitivity
1. สามารถลดได้โดยการให้ pre-medication แต่หากยังเกิดควรให้ Pethidine
Pre-medication and doses
Medication
Doses
Paracetamol oral
650 – 1,000 mg 30 นาที ก่อนบริหารยา
CPM injection
10 mg iv 30 นาที ก่อนเริ่มบริหารยา
Hydrocortisone iv
- ใช้กรณีผู้ป่วยมีประวัติการเกิด Hypersensitivity จาก Amphotericin B
- ขนาดใช้ 25 mg iv ก่อนการบริหารยา
Pethidine iv
- ใช้กรณีรักษาอาการ 25 mg ทุก 15 นาที (ถ้าจำเป็น) เพื่อแก้ rigors, chill
- ขนาดยาสามารถเพิ่มเป็น 100 mg ใน 1 hour
- ระวังการให้ยานี้ในผู้ป่วยที่มี Renal Insufficiency