วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Atropine Injection

รูปแบบที่มีในโรงพยาบาล    Atropine Injection : 0.6 mg in 1 ml (1: 1,000)

ข้อบ่งใช้ ; Preanesthetic,sinus bradycardia,organophosphate or carbamate poisoning,
neuromuscular blockade

ประเด็นปัญหา
เป็นยาที่มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด หากเกิดความผิดพลาดอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอันตรายได้ โดยอาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญ ได้แก่ tachycardia
การคัดเลือก
จัดหา
(Supply)
1. ให้ทำการจัดซื้อยา 1 ขนาดความแรง คือ ขนาด 0.6 mg in 1 ml injection
2. ให้ทำการจัดซื้อจากบริษัทเดียวเสมอ (องค์การเภสัชกรรม)
3. หากมีการเปลี่ยนแปลงขนาดบรรจุ หรือความแรง ฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน
จะต้องทำหนังสือแจ้งเวียนให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ ซึ่งได้แก่ แพทย์ งานอุบัติเหตุ- ฉุกเฉิน หอผู้ป่วยใน โดยทันที
การจัดเก็บ
(Storage)
1. กำหนดให้ทำการเก็บยาในตู้เย็น อุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส
2. กำหนดให้หน่วยงานที่มีการสำรองยา ได้แก่ ห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน หอผู้ป่วยใน ห้องคลอด ตรวจสอบความพร้อมใช้ทุกเวร
3. การจัดเก็บต้องแยกเก็บในพื้นที่เฉพาะแยกจากยาอื่น ๆ และติดป้ายบอกยากลุ่มเสี่ยงอย่างชัดเจน
4. ห้องยาติดแถบสีแดงที่ ampoule ยา เพื่อแจ้งเตือนว่า High Alert Drug
การสั่งใช้ยา
(Prescribing)
1. การสั่งใช้ยาต้องระบุข้อมูล ดังนี้
ชื่อยา โดยใช้ชื่อสามัญทางยา
ขนาดการใช้ยา
ทารกและเด็ก :
- Preanesthetic : Oral, IM, IV, SC
< 5 kg: 0.02 mg/kg/dose ให้ก่อนผ่าตัด 30- 60 นาที อาจให้ต่อทุก 4 – 6 ชั่วโมงตามความจำเป็น
> 5 kg: 0.01 – 0.02 mg/kg/dose ถึงขนาดสูงสุด 0.4 mg/dose ก่อนผ่าตัด 30 – 60 นาที ขนาดต่ำสุด 0.1 mg
- Bradycardia : IV, intratracheal : 0.02 mg/kg ขนาดต่ำสุด 0.1 mg ขนาดสูงสุดต่อครั้ง 0.5 mg ในเด็ก และ 1 mg ในผู้ใหญ่ อาจให้ซ้ำได้ทุก 5 นาที จนได้ขนาดยารวมไม่เกิน 1 mg ในเด็กและ 2 mg ในผู้ใหญ่
· การให้แบบ intratracheal ต้องเจือจางยาด้วย NSS ให้ได้ปริมาตร 2 –3 ml. ก่อน
· การรักษาภาวะ bradycardia จะใช้ atropine ต่อเมื่อการให้ oxygen และ adrenalineไม่ได้ผลเท่านั้น
เด็ก :
- Bronchospasm :Inhalation : 0.03 – 0.05 mg/kg/dose วันละ 3 – 4 ครั้ง
ผู้ใหญ่ :
- Asystole : IV 1 mg ซ้ำได้ ทุก 3 – 5 นาทีตามความจำเป็น
- Bradycardia : IV 0.5 – 1 mg ทุก 5 นาที ขนาดยารวมไม่เกิน 2 mg หรือ 0.04
mg/kg
- การแก้ไขภาวะ neuromuscular blockade : IV 25 – 30 mcg/kg ให้ก่อนให้ยา
neostigmine 30 วินาที
- พิษจาก organophosphate หรือ carbamate : IV 1 – 2 mg/dose ทุก 10 – 20
นาที จนกว่าจะเกิด atropine effect ( ปากแห้ง ตาพร่า ถ่ายปัสสาวะลำบาก
หน้าแดง ) ต่อไปให้ยาทุก 1 – 4 ชั่วโมงเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ขนาดยา
รวมสูงสุด 50 mg ใน 24 ชั่วโมงแรก กรณี severe intoxication อาจให้ยารวม
ทั้งหมดสูงถึง 2 g.
- Bronchospasm : inhalation : 0.025 – 0.05 mg/kg/dose ทุก 4 – 6 ชั่วโมง
(ขนาดยาสูงสุด 5 g/dose)
ระวังการใช้ในผู้ป่วยเด็กที่มีอาการ spastic paralysis **
3. ห้ามสั่งใช้ยาทางวาจา หรือโทรศัพท์ ยกกรณี CPR
การเตรียม
(Preparation)
ห้ามผสมยาร่วมกับยา Ampicillin, Chloramphenicol, Adrenaline,Heparin,Warfarin
การบริหารยา
(Administration)
1. ให้ 1 mg ฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำช้าๆ และให้ซ้ำได้ 3-5 นาที หากยังไม่ตอบสนอง แต่ไม่เกิน 3 mg
2. กรณีหัวใจเต้นช้า อาจให้ขนาด 0.5-1 mg ซ้าได้ทุก 3-5 นาที ขนาดโดยรวมไม่เกิน 3 mg หรือ 0.04mg/kg
การติดตาม
(Monitoring)
1. ติดตามอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และ Mental status
2. ตรวจวัด vital sign ทุก 5 นาที จนกว่าจะ stable
รายงานแพทย์ทันทีเมื่อ
BP > 140/90 mmHg , HR >120 ครั้ง /นาที
3. หากให้ยาเข้าทางหลอดเลือดดำ Mornitor EKG ตลอดการให้ยา ถึง 1 ชั่วโมงหลังให้ยา
4. อาการข้างเคียงที่อาจพบได้ เช่น ปากแห้ง,ตาพร่ามัว,หัวใจเต้นช้า,ชีพจรเต้นเร็ว,รูม่านตาขยายไม่ตอบสนอง ผิวหนังร้อนวูบวาบ หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง หายใจเร็วขึ้น
6. บันทึกปริมาณสารน้ำเข้า-ออก เพื่อดูสัดส่วนความสมดุล เพราะยาอาจทำให้เกิดภาวะ
Urinary Retention ได้รายงานแพทย์เมื่อ Urine Output < 100 cc./hr
วิธีปฏิบัติเพื่อแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์จากยาOverdose
Physostigmine 1-2 mg ( 0.5 mg หรือ 0.02 mg/kg สาหรับเด็ก) ฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือ IV อย่างช้าๆ

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น